โปรแกรมคำนวณค่าไฟแอร์
โปรแกรมคำนวณค่าไฟแอร์ เป็นเครื่องมือที่ให้คุณสามารถใช้คำนวณค่าไฟจากการใช้งานแอร์ในบ้านของคุณ พร้อมตัวอย่างวิธีคำนวณแบบละเอียด เพียงป้อนข้อมูลเบื้องต้นและกด คำนวณ เพื่อเริ่มต้น
ผลการคำนวณ
หรือ 9,733 บาท ต่อปี
หรือ 27 บาท ต่อวัน
วิธีคำนวณค่าไฟแอร์
ต่อไปเป็นตัวอย่างการแสดงวิธีการคำนวณค่าไฟแอร์ เพื่อคำนวณค่าไฟแอร์เราต้องการตัวแปรต่อไปนี้
- ขนาด BTU ของแอร์
- ค่า SEER ของแอร์
- จำนวนชั่วโมงที่เปิดต่อวัน
- ค่าไฟต่อหน่วย
จะได้สูตรสำหรับคำนวณค่าไฟแอร์เป็น
ค่าไฟในหนึ่งวัน = BTU / SEER / 1000 × จำนวนชั่วโมง × ค่าไฟต่อหน่วย
ค่าไฟในหนึ่งเดือน = BTU / SEER / 1000 × จำนวนชั่วโมง × ค่าไฟต่อหน่วย × 30
กำหนดให้เรามีข้อมูลตัวอย่างที่ต้องการคำนวณค่าไฟแอร์ดังนี้
- ขนาด BTU ของแอร์ = 15000 BTU
- ค่า SEER ของแอร์ = 18
- จำนวนชั่วโมงที่เปิดต่อวัน = 8 ชั่วโมง
- ค่าไฟต่อหน่วย = 4 บาท
จากนั้นนำมาแทนค่าลงในสูตรจะได้
ค่าไฟในหนึ่งวัน = 15000 / 18 / 1000 × 8 × 4 = 27 บาท
ค่าไฟในหนึ่งเดือน = 15000 / 18 / 1000 × 8 × 4 × 30 = 800 บาท
หมายเหตุ: การคำนวณนี้ใช้อัตราค่าไฟแบบคงที่ซึ่งเป็นการประมาณค่าไฟเบื้องต้นเท่านั้น ปกติแล้วค่าไฟจะคิดเป็นแบบขั้นบันได ดังนั้นอัตราค่าไฟที่นำมาคำนวณควรเป็นค่าสูงสุดในขั้นบันไดที่คุณใช้งานถึง เรียนรู้เพิ่มเติม
เปรียบเทียบค่าไฟแอร์จากขนาด BTU
ตารางเปรียบเทียบค่าไฟต่อเดือนของแอร์ขนาด BTU ต่างๆ โดยใช้ตัวแปรอื่นจากค่านำเข้าของคุณ
- ค่า SEER ของแอร์ = 18
- จำนวนชั่วโมงที่เปิดต่อวัน = 8 ชั่วโมง
- ค่าไฟต่อหน่วย = 4 บาท
ขนาด BTU | ค่าไฟฟ้าต่อเดือน |
---|---|
แอร์ขนาด 9,000 BTU | 480 บาท |
แอร์ขนาด 12,000 BTU | 640 บาท |
แอร์ขนาด 15,000 BTU (BTU ของคุณ) | 800 บาท |
แอร์ขนาด 18,000 BTU | 960 บาท |
แอร์ขนาด 24,000 BTU | 1,280 บาท |
ค่าไฟของแอร์จะแปรผันตรงกับขนาด BTU ของแอร์ที่เพิ่มขึ้น เช่น แอร์ขนาด 18,000 BTU จะมีค่าไฟที่มากกว่าแอร์ขนาด 15,000 BTU อย่างไรก็ตามขนาด BTU ของแอร์ควรเหมาะสมกับขนาดและประเภทของห้องด้วยเสมอ
เปรียบเทียบค่าไฟแอร์ตามจากค่า SEER
ตารางเปรียบเทียบค่าไฟต่อเดือนของแอร์โดยค่า SEER ระดับต่างๆ โดยใช้ตัวแปรอื่นจากค่านำเข้าของคุณ
- ขนาด BTU ของแอร์ = 15000 BTU
- จำนวนชั่วโมงที่เปิดต่อวัน = 8 ชั่วโมง
- ค่าไฟต่อหน่วย = 4 บาท
ค่า SEER | ค่าไฟฟ้าต่อเดือน |
---|---|
15 | 960 บาท |
16 | 900 บาท |
17 | 847 บาท |
18 (SEER ของคุณ) | 800 บาท |
19 | 758 บาท |
20 | 720 บาท |
21 | 686 บาท |
22 | 655 บาท |
23 | 626 บาท |
24 | 600 บาท |
25 | 576 บาท |
แอร์ที่มีค่า SEER สูงกว่าจะมีค่าไฟถูกกว่าเนื่องจากมันประหยัดพลังงานกว่า โดยปกติแล้วแอร์ที่มีค่า SEER สูงจะมีราคาแพงกว่า หากคุณเปิดแอร์เป็นเวลานานของวันการเลือกซื้อแอร์ที่ค่า SEER สูงช่วยประหยัดไฟได้ดีกว่าในระยะยาว โดยปกติแอร์ที่ขายในตลาดจะมีค่า SEER ตั้งแต่ 15 ขึ้นไป